Search NuiPik Blog ลองใส่คำดูสิค่ะ

Wednesday, September 24, 2008

ลูกหนัก 3 กิโลแล้ว

เข้าสู่สัปดาห์ที่ 35
น้ำหนักลูกน่าจะ 3 กิโลได้แล้ว
ส่วนคุณแม่ น้ำหนัก 62.9 กิโลกรัม
เอวขยายไปที่ 44 นิ้ว
2 สัปดาห์ก่อน อยู่ที่ 40 นิ้วเท่านั้น
คุณหมอนัดตรวจครั้งหน้า
วันที่ 7 ตุลาคม 2551
โดยจะทำอัลตร้าซาวน์
เพื่อดูขนาดเด็กและน้ำคร่ำในท้อง
สงสัยจะได้รู้เพศลูกชัดๆ
เพราะไม่ค่อยแน่ใจว่า
ทำไมเด็กผู้หญิงถึงซนและดิ้นเก่งมากจังเลย
น้ำหนักคุณแม่ควรเพิ่มขึ้นไม่เกิน 64 กิโลกรัม
สำหรับการนัดตรวจคราวหน้า
และคุณแม่ต้องฉีดยาป้องกันบาดทะยักเข็มที่สาม
ช่วงนี้สิ่งที่คุณแม่ต้องระวัง คือ อาการน้ำเดิน
น้ำเดิน หรือ ถุงน้ำคร่ำแตก
คืออาการที่น้ำใสๆ ไม่ใช่มูก
ไหลออกมาชุ่มชั้นในหรือไหลตามขา
ให้รีบไปโรงพยาบาลได้เลย
เพราะเมื่อถุงน้ำคร่ำแตก จะทำให้โพรงมดลูก
ที่ต่อเชื่อมกับช่องทางคลอด
อาจเกิดการติดเชื้อได้
ดังนั้นคุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการน้ำเดินให้ดี

Sunday, September 7, 2008

อบรม ครรภ์คุณภาพ

เช้าวันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน 2551
มีนัดไปเข้าอบรมเรื่องครรภ์คุณภาพ
ที่ รพ.ศิครินทร์ ช่วงเช้าถึงเที่ยง
โดย รศ.ลาวัณย์ ผลสมภพ
อบรมเสร็จ ตอนบ่าย ก็พบคุณหมออัจฉราเลย
จะได้ไม่ต้องเข้าอีกรอบ

Thursday, September 4, 2008

คุณแม่ท้องแปดเดือน







ใบสำคัญการจดทะเบียน


จดทะเบียนสมรสแล้ว
วันที่ 2 กันยายน 2551
ตั้งใจกันไว้ตั้งแต่แรกว่า
จะจดทะเบียนสมรส
ในวันที่ 2 กันยายน ปี ไม่ระบุ
เพราะเราแต่งงานกัน
วันที่ 2 กันยายน 2549
คือเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
เพิ่มมาตัดสินใจว่า
จะจดทะเบียนเมื่ออาทิตย์ก่อน
จังหวะพอดี ยังไม่เลยวันที่ 2 กันยา
ก็เลยจดกันปีนี้เลยครับ
เราไปจดกันที่อำเภอ เมืองสมุทรปราการ
ใกล้บ้านที่สุด
ใช้เวลาไม่นาน แค่ 30 นาที
จดเรียบร้อยแล้ว ลูกที่เกิดมา
ก็จะได้ใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ
ของแม่นุ้ยได้เต็มที่ แบบไม่วุ่นวาย

ส่วนใครกำลังหาข้อมูลขั้นตอน
หรือหลักฐานที่ใช้สำหรับการจดทะเบียนสมรส
ดูได้จากข้างล่างนะครับ


การจดทะเบียนสมรส
ข้อมูลจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ

1. จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ และต้องนำบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
2. กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้
3. ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
4. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
5. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
6. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
7. ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
8. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
      - - คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
      - - สมรสกับคู่สมรสเดิม
      - - มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
      - - ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
9. ชายหญิง ที่มีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้


เอกสารที่ใช้

1. บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
2. สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
3. หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือสถานกงสุล หรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล(กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
4. สำเนาทะเบียนบ้าน 


ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
2. คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
3. คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
4. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรองการแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักงานเขต 


สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียม / ค่าปรับ : 
1. การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
2. การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียม 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะ รับ - ส่ง นายทะเบียน
3. การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท 

สถานที่ติดต่อ / ยื่นเอกสาร : 
1. ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขต
2. ศูนย์สอบถามข้อมูลทางการทะเบียน โทร. 1548 


การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ
จดทะเบียนภายใต้กฎหมายต่างชาติ
ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. ให้คนไทยติดต่อสถานทูตนั้นในไทย สอบถามว่าจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ส่วนใหญ่จะใช้ใบรับรองความเป็นโสด
2. นำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ
3. นำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกร โดยนำเอกสารต้นฉบับ (ภาษาต่างประเทศ) และฉบับที่แปลแล้ว (ภาษาไทย)
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
5.  นำเอกสารไปรับรองที่สถานทูตชาติ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย นำไปใช้ยังต่างประเทศได้


หมายเหตุ

นำเอกสารไปรับรองที่สถานทูตชาติ กรณีไม่สามารถดำเนินการได้สามารถทำการมอบอำนาจ

ถ้ามอบอำนาจมา ต้องนำหนังสือมอบอำนาจ และ สำเนาบัตรปชช ของผู้มอบด้วย

สตรี ไทยผู้ถือหนังสือเดินทางในชื่อสกุลเดิม เมื่อทำการสมรสตามกฎหมายต่างประเทศสามารถร้องขอให้สอท./สกญ.บันทึกการใช้นาม สกุลสามีลงในหนังสือเดินทาง (ปัจจุบันต้องทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่) แต่ต้องแก้ไขข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านให้ถูกต้อง ในโอกาสแรกที่เดินทางกลับประเทศไทย หากมิได้ดำเนินการแก้ไข และมาขอหนังสือเดินทางฉบับใหม่ กระทรวงการต่างประเทศจะออกหนังสือเดินทาง โดยใช้คำนำหน้านามและนามสกุลตามข้อมูลที่ปรากฏ ตามหลักฐานทะเบียนราษฎรเท่านั้น

1. การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
2. คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
3. คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
4. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรองการแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักงานเขต 


จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทย
ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. ให้คนต่างชาติ ไปขอใบรับรองความเป็นโสด ที่สถานทูตชาติของตนในไทย บางสถานทูตไม่มีสิทธิ์ออกให้ ต้องติดต่อสำนักงานเขตในประเทศของตน
2. นำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาไทย
3. นำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกร โดยนำเอกสารต้นฉบับ (ภาษาต่างประเทศ) และฉบับที่แปลแล้ว (ภาษาไทย)
4. หนังสือเดินทางของชาวต่างชาติ
5.  นำไปจดทะเบียนที่อำเภอหรือเขต


เอกสารประกอบการยื่นสำหรับคนต่างชาติ

1. หนังสือเดินทาง หรือหนังสือการอนุญาตให้เข้าเขตแดนของประเทศใดประเทศหนึ่ง (Visa) ประเภทเพื่อการท่องเที่ยวหรือประกอบกิจการด้านธุรกิจ
2. หนังสือ รับรองสถานภาพของบุคคลจากสถานทูต หรือสถานกงสุลโดยระบุเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลนั้นที่เหมาะสมที่จะสมรส กับคนไทย 
      ระบุอาชีพ, รายได้, ภาวะทางการสมรส และระบุชื่อบุคคลทางราชการ ที่สามารถติดต่อและขอทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ จำนวน 2 คน ซึ่งมีที่อยู่เดียวกับผู้ร้อง โดยนำหนังสือรับรองดังกล่าว แปลเป็นภาษาไทย รับรองคำแปลโดยสถานทูตของประเทศของบุคคลนั้น หรือกระทรวงการต่างประเทศไทย