จดทะเบียนสมรสแล้ว
วันที่ 2 กันยายน 2551
ตั้งใจกันไว้ตั้งแต่แรกว่า
จะจดทะเบียนสมรส
ในวันที่ 2 กันยายน ปี ไม่ระบุ
เพราะเราแต่งงานกัน
วันที่ 2 กันยายน 2549
คือเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
เพิ่มมาตัดสินใจว่า
จะจดทะเบียนเมื่ออาทิตย์ก่อน
จังหวะพอดี ยังไม่เลยวันที่ 2 กันยา
ก็เลยจดกันปีนี้เลยครับ
เราไปจดกันที่อำเภอ เมืองสมุทรปราการ
ใกล้บ้านที่สุด
ใช้เวลาไม่นาน แค่ 30 นาที
จดเรียบร้อยแล้ว ลูกที่เกิดมา
ก็จะได้ใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ
ของแม่นุ้ยได้เต็มที่ แบบไม่วุ่นวาย
ส่วนใครกำลังหาข้อมูลขั้นตอน
หรือหลักฐานที่ใช้สำหรับการจดทะเบียนสมรส
ดูได้จากข้างล่างนะครับ
การจดทะเบียนสมรส
| ||||
ข้อมูลจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
| ||||
|
|
1. บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
2. สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
3. หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือสถานกงสุล หรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล(กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
4. สำเนาทะเบียนบ้าน
|
|
1. การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
2. คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
3. คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
4. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรองการแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักงานเขต
|
|
ค่าธรรมเนียม / ค่าปรับ :
1. การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
2. การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียม 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะ รับ - ส่ง นายทะเบียน
3. การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท
สถานที่ติดต่อ / ยื่นเอกสาร :
1. ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขต
2. ศูนย์สอบถามข้อมูลทางการทะเบียน โทร. 1548
|
|
หมายเหตุ
นำเอกสารไปรับรองที่สถานทูตชาติ กรณีไม่สามารถดำเนินการได้สามารถทำการมอบอำนาจ ถ้ามอบอำนาจมา ต้องนำหนังสือมอบอำนาจ และ สำเนาบัตรปชช ของผู้มอบด้วย สตรี ไทยผู้ถือหนังสือเดินทางในชื่อสกุลเดิม เมื่อทำการสมรสตามกฎหมายต่างประเทศสามารถร้องขอให้สอท./สกญ.บันทึกการใช้นาม สกุลสามีลงในหนังสือเดินทาง (ปัจจุบันต้องทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่) แต่ต้องแก้ไขข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านให้ถูกต้อง ในโอกาสแรกที่เดินทางกลับประเทศไทย หากมิได้ดำเนินการแก้ไข และมาขอหนังสือเดินทางฉบับใหม่ กระทรวงการต่างประเทศจะออกหนังสือเดินทาง โดยใช้คำนำหน้านามและนามสกุลตามข้อมูลที่ปรากฏ ตามหลักฐานทะเบียนราษฎรเท่านั้น
1. การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
2. คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
3. คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
4. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรองการแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักงานเขต
|
No comments:
Post a Comment