สืบเนื่องจากการผ่าตัดซิสต์ที่คอ
เมือ 18 เมษายนที่ผ่านมา
และได้รับคำแนะนำจากหมอทางพัทธุศาสตร์ว่า
ให้ลองตรวจการได้ยิน (hearing screening test)
และทำ
อัลตร้าซาวน์ไตดู (Renal ultrasound)
ป้อนจึงมาทำการตรวจวัดการได้ยินเสียงก่อน
เมื่อวาน วันที่ 7 ตุลาคม 2555 ที่คลินิกหู คอ จมูก รพ.จุฬาฯ
การตรวจการได้ยินในเด็กเล็ก
มีวิธีการตรวจได้หลายอย่าง แบ่งเป็นการตรวจการได้ยินแบบธรรมดา
เช่น การทำเสียงดัง และ ดูปฏิกิริยาตอบสนองของเด็ก
แต่เด็กบางคนอาจจะฉลาด แม้ไม่ได้ยินก็จะใช้ทักษะทางสายตา
มองดูท่าทางของผู้ตรวจ และทำท่ายิ้มหรือหันไปตามนั้นได้
สำหรับป้อนใช้วิธีการตรวจที่ซับซ้อนขึ้น เพื่อตัดปัญหาตัวแปรนี้
ได้แก่ การตรวจพิเศษ ที่เรียกว่า การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง
Auditory Brainstem Response test (ABR)
จะคล้ายกับการตรวจคลื่นสมอง แต่หลักการง่ายกว่า
เพราะดูแค่ลักษณะของคลื่นสมองที่เกิดจากากรกระตุ้นของเสียง
และดูการตอบสนอง (response) จากหูไปยังก้านสมองเท่านั้น
ซึ่งมักจะ ทำในเด็ก หรือ ผู้ที่ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจแบบปกติ
โดยวิธีการจะใช้ขั้วไฟฟ้าเล็กๆ วางแปะอยู่ที่หนังศีรษะ และหลังหู
เพื่ออ่านประจุไฟฟ้าของคลื่นไฟฟ้าในสมองที่เกิดขึ้น
ตอบสนองต่อเสียงระดับต่างๆ ที่ใช้
ในการทำการตรวจวิธีนี้ ต้องทำตอนที่เด็กหลับ
หรือ ให้ยารับประทานเพื่อให้หลับ (ไม่ใช่การดมยาสลบ)
เพื่อให้การตรวจได้ผลแม่นยำขึ้น
|
ห้องทดสอบ ABR |
ลักษณะตัวอย่าง ABR ซึ่งแสดง การตอบสนองในระดับต่าง ๆของสมอง
wave Ι cochlear neave
wave Ш cochlear nucheus
wave Ⅴ lateral lemniscus to inferior colliculus
นอกจากนี้ป้อนยังได้รับการตรวจด้วยวิธี acoustic impedance
ด้วยเครื่องตรวจคัดกรองสมรรถภาพหูชั้นกลาง
เพียงวางอุปกรณ์ใส่หูให้ถูกตำแหน่งและแนบสนิทกับช่องหู
เครื่องจะทำงานโดยอัตโนมัติ ใช้เวลา 3 วินาทีต่อการประมวลผลแต่ละครั้ง
เครื่องแสดงผลการกระตุกอัตโนติของกล้ามเนื้อหูชั้นกลาง (Acoustic Reflex)
เป็นกราฟผ่านหน้าจอแอลซีดีและสั่งพิมพ์ได้ทันที
หมอนัดฟังผลการตรวจการได้ยิน อาทิตย์หน้า
การตรวจการได้ยินไม่มีปัญหาแต่กลับมีปัญหาจากการกินยานอนหลับ
ป้อนได้รับยาคลอรัล ไฮเดรต (chloral hydrate)
เป็นยานอนหลับกล่อมเด็ก ซึ่งก็ไม่น่าจะเกินขนาด
แต่อาจเป็นเพราะป้อนคงมีความไวต่อยาตัวนี้ แต่ไม่ถึงขนาดแพ้ยา
คือหลังการตรวจการได้ยินเสร็จแล้ว ป้อนมีภาวะการหายใจผิดปกติ
คือหายใจแรง หน้าอกยุบเป็นจังหวะตามการหายใจเข้า
จึงจำเป็นต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ด้วยการให้ออกซิเจน
และดูดสิ่งแปลกปลอมที่อาจอุดช่องทางเดินหายใจ
สุดท้ายก็ต้องส่งต่อไปยังห้องฉุกเฉินเพื่อดูอาการต่อไป
ป้อนหลับไปประมาณ 3 ชั่วโมง ตื่นขึ้นมาพร้อมอาการเมายานอนหลับ
นั่งและยืนเองไม่ได้ มีอาการเซและหัวทิ่มตลอด
จนกระทั่งพากลับบ้านและหลับไปอีกครั้งตอน 6 โมงครึ่ง