Search NuiPik Blog ลองใส่คำดูสิค่ะ

Wednesday, June 27, 2012

น้องปั้นเป็นนอนกรน

เด็กนอนกรน ที่มีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้นขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea)
สามารถพบได้ในเด็กทุกวัย แต่จะได้บ่อยในเด็กช่วงอายุ 2 -6 ปี
ถ้าไม่รักษาจะทำให้เด็กมีภาวะขาดออกซิเจนขณะหลับ 
ซึ่งอาจทำให้มีสติปัญญาถดถอย สมาธิสั้น หัวใจโต 
หรือขั้นรุนแรงอาจเสียชีวิตอย่างกะทันหันได้







                        
สาเหตุ

ส่วนใหญ่มักเกิดจากต่อมทอนซิลที่อยู่ข้างโคนลิ้น 
และต่อมอดีนอยด์ที่อยู่หลังจมูก มีขนาดโตเบียดบังทางเดินหายใจส่วนต้น 
ร่วมกับการคลายตัวของกล้ามเนื้อคอส่วนต้นขณะหลับ 
ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบ 

นอกจากนี้อาจเกิดจากการที่เด็กอ้วนเกินไป ทำให้มีไขมันสะสมที่บริเวณคอเพิ่มขึ้น 
หรือพบในเด็กที่มีลักษณะโครงหน้า คาง ลิ้น และคอผิดปกติ 
ทำให้ลักษณะทางเดินหายใจส่วนต้นแคบกว่าปกติ

เด็กมักจะนอนกรนร่วมกับมีอาการหายใจลำบากขณะนอนหลับ 
ตรงข้ามกับขณะตื่นที่หายใจได้ปกติดี 
อาการหายใจลำบากสังเกตได้จากการที่เด็กหายใจแรงและใช้กล้ามเนื้อหายใจมากกว่าปกติ 
ขณะที่หายใจเข้าหน้าอกยุบลงแต่ท้องป่องขึ้น 
บางคนมีอาการกระสับกระส่ายเหมือนหายใจไม่เข้า
นอนในท่าแปลก ๆ อ้าปากหายใจ 
ปากซีดเขียว เสียงกรนขาดหายเป็น ช่วง ๆ ทั้ง ๆ ที่เด็กกำลังหายใจอยู่ 
ปัสสาวะราดรดที่นอน 
พ่อแม่บางรายกลัวลูกหายใจไม่เข้า ถึงกับต้องนั่งเฝ้าคอยขยับตัวลูก หรือเขย่าปลุกให้ลูกตื่น
ตอนกลางวันเด็กอาจซุกซน ไม่อยู่นิ่ง มี สมาธิสั้น  หรือผล็อยหลับบ่อย ๆ

การรักษา

ถ้ามีอาการมากรักษาได้โดยผ่าตัดเอาต่อมทอนซิล (Tonsil) และอะดินอยด์ (Adenoid) ออก
ถ้าอาการไม่มาก (กรนโดยไม่มีอาการหายใจลำบาก) อาจรักษาโดยการใช้ยา และติดตามผล
รักษาโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้
งดยาที่ทำให้ภาวะนี้เป็นมากขึ้น ได้แก่ ยาลดน้ำมูก ยานอนหลับ
บางรายที่เป็นไม่มากนักอาจจับเด็กนอนคว่ำหรือนอนตะแคง อาจทำให้อาการดีขึ้นได้บ้าง
ถ้าเด็กอ้วนต้องลดน้ำหนัก
ถ้าแก้ไขทุกอย่างแล้วไม่ดีขึ้นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเวลานอนหรือ CPAP 
ผ่านหน้ากากที่ครอบบนจมูกของเด็กขณะนอนหลับ
เครื่องช่วยหายใจนี้จะมีความดันบวกตลอดเวลา ทำให้ทางเดินหายใจของเด็กเปิดโล่งขึ้น

ข้อมูลส่วนนี้ปรับปรุงมาจาก.... โครงการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเด็ก
หน่วยโรคระบบหายใจเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ถึงแม้ว่าต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์ 
จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย 
แต่จากการศึกษาวิจัย พบว่าระดับ
ภูมิคุ้มกันไม่ได้ลดลง ในผู้ป่วยที่ถูกตัดต่อมทอนซิลออก 
อัตราการเกิดโรคติดเชื้อต่างๆ ไม่แตกต่างจากคนปกติ 
ทั้งนี้เพราะยังมีระบบภูมิคุ้มกันอีกมากมาย    
การศึกษาในปัจจุบันพบว่า หน้าที่ในการป้องกันการติด
เชื้อของต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์ 

ลดลงภายหลังเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป 
และยังพบว่าความสามารถ ของการกำจัดเชื้อ
โดยเม็ดเลือดขาวในการเก็บกินเชื้อโรคเพิ่มขึ้น 

ภายหลังการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์ 
ในผู้ป่วยที่มีต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์อักเสบชนิดเรื้อรัง 
แพทย์จึงมักแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีต่อมทอนซิล
หรือต่อมอะดินอยด์อักเสบเรื้อรังและมีขนาดโต 
จนทำให้เกิดอาการนอนกรนหรือหยุดหายใจ
รับการผ่าตัดเอาต่อมออก
    
ข้อมูลจาก คลินิกรักษาโรคนอนกรน รพ.จุฬาลงกรณ์

1 comment:

  1. น้องปั้นไปผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและต่อมอดีนอยด์ออก เดือน ก.ค.2555
    ปัจจุบัน น้องปั้นนอนหลับได้ดีขึ้นมากแล้ว

    ReplyDelete