Search NuiPik Blog ลองใส่คำดูสิค่ะ

Thursday, February 21, 2013

ลูกเกิดปีนักษัตรไหนกันแน่ ?


ปัญหาคาใจคุณยาย อยากให้หลานชายเกิดปีขาล
จะได้ตรงกับตัวเอง

ป้อนเกิดวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

คุณยายตัดใบดูดวง เด็กเกิดวันนี้จากหนังสือพิมพ์
ปิดไว้ที่กระจกโต๊ะเคื่องแป้ง ตั้งแต่วันที่หลานชายเกิด
ในใบดูดวงบอกว่า วันที่ 21 ก.พ. 54 เป็นแรม 3 ค่ำ เดือน3 ปีขาล
แต่ปะป๊ากับแม่นุ้ย ก็บอกว่า ป้อนเกิด ปีเถาะ
เพราะผ่านพ้นช่วงตรุษจีน ปี 2554 มาแล้ว
โดยปี 2553 เป็นปีขาล

คำถามเรื่องนี้จะเกิดกับผู้ที่เกิดช่วง เดือนธันวาคม ถึง เดือนเมษายน
เพราะเป็นช่วงที่ปีนักษัตรทับซ้อนกัน 
 
ปี                           วันที่                                  วันที่                                        วันที่
ปีชวด    19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539        7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551         25 มกราคม พ.ศ. 2563
ปีฉลู      7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540        26 มกราคม พ.ศ. 2552            12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ปีขาล    28 มกราคม พ.ศ. 2541          14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553          1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ปีเถาะ    16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542       3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554       22 มกราคม พ.ศ. 2566
ปีมะโรง    5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543      23 มกราคม พ.ศ. 2555            10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ปีมะเส็ง   24 มกราคม พ.ศ. 2544         10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556         29 มกราคม พ.ศ. 2568
ปีมะเมีย   12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545      31 มกราคม พ.ศ. 2557            17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569
ปีมะแม     1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546       19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558         6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2570
ปีวอก      22 มกราคม พ.ศ. 2547           8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559         26 มกราคม พ.ศ. 2571
ปีระกา      9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548       28 มกราคม พ.ศ. 2560            13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2572
ปีจอ       29 มกราคม พ.ศ. 2549           16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561          3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2573
ปีกุน       18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550        5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562         23 มกราคม พ.ศ. 2574


ปีนักษัตร
การเปลี่ยนปีนักษัตร (ชวด,ฉลู,ขาล,เถาะ) มีหลายแบบ ดังนี้
  1. การเปลี่ยนปีนักษัตรมีหลายแบบ เช่น เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย (1) ตามปฏิทินหลวง เป็นแบบที่ใช้ในการบันทึกสูติบัตรปัจจุบัน (แนวทางปฏิบัติตาม หนังสือเวียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0310.1/ว4 ออกเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2539)
  2. เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้า(5) ตามคติพราหมณ์ (ช่วงเวลาเปลี่ยนปีนักษัตรตามสูติบัตร จะไม่ตรงกันกับแบบคติพราหมณ์) 
  3. เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันเถลิงศก ช่วงวันที่ 15-17 เมษายน 
  4. เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันสังขารล่อง หรือวันสงกรานต์ตามแบบทางภาคเหนือ
  5. เปลี่ยนปีนักษัตรแบบจีน ซึ่งเปลี่ยนปีนักษัตรใหม่วันสารทลิบชุน / วันตรุษจีนตามปฏิทินจันทรคติจีน หรือปฏิทินจีน
  6. เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินของ อ.ทองเจือ อ่างแก้ว 
  7. เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 เมษายน ตามปฏิทินของ อ.เทพย์ สาริกบุตร เป็นต้น

ใช้ปีนักษัตรแบบใด ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ทำการใด เช่น พยากรณ์ทางโหราศาสตร์แบบไทย จะใช้ปีนักษัตรตามคติพราหมณ์ คือเปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้า(5) , พยากรณ์โหราศาสตร์แบบจีน ก็ควรต้องใช้ปีนักษัตรแบบจีน  เป็นต้น



* สูติบัตร เป็นเอกสารทางราชการเพียงอย่างเดียว มีบันทึกวันเกิดแบบจันทรคติ แต่ก็ไม่ถูกใช้ที่ไหนเลย ไม่มีแบบฟอร์มราชการหรือเอกชนที่ไหนให้กรอกว่า เกิดกี่ค่ำ เดือน ปีนักษัตรอะไร เว้นแต่ตอนดูดวง พิธีกรรมบางอย่างเท่านั้น ก่อนหน้ามีประกาศ 5 กุมภาพันธ์ 2539 สูติบัตรถูกบันทึกหลายแบบ ขึ้นอยู่กับส่วนปกครองนั้นๆ หรือผู้บันทึก ไม่ตรงกันมีหลายแบบ เช่น เปลี่ยนนักษัตรใน 1 ค่ำ เดือนห้า(5) , วันตรุษจีน , วันที่ 1 เมษายน , วันที่ 13 เมษายน หรือ วันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินสากลที่พิมพ์ก็มี ซึ่งถ้าเกิดช่วงเดือนนั้นๆปีนักษัตรอาจต่างกัน ดังนั้นบ่อยครั้งตอนดูดวง หมอดูหรือนักพยากรณ์จะถาม วันเดือนปี เวลาเกิดทางสุริยคติสากลที่มีบันทึกในสูติบัตร แล้วนำมาเทียบในปฏิทินจันทรคติให้เอง คือไม่ดู แรมค่ำ เดือน ปีนักษัตรจากสูติบัตร ซึ้่งก็ไม่แปลกที่นักษัตรตั้งต้นทำนายไม่ตรงกับสูติบัตรหรือที่เราเข้าใจ และหมอดูหรือนักพยากรณ์มักจะไม่อธิบายเพราะเรื่องนี้ค่อนข้างซับซ้อนใช้เวลาอธิบาย
 
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์
พระเครื่องตั้มศรีวิชัย
www.myhora.com

No comments:

Post a Comment